โรคพาร์กินสันจัดอยู่ในกลุ่มของโรคสมองเสื่อม ชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อเซลล์ประสาทที่ผลิตในสมอง และมีผลต่อการเคลื่อนไหว ซึ่งในคนไทยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ ตามสถิติโรคนี้มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิงถึง 50% หรือ 1.5 เท่า โดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ สะสมเป็นเวลาหลายปีจนถึงระยะลุกลาม โดยอาการที่เกิดขึ้นมักจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละบุคคล อาการที่อาจพบได้มีดังนี้:
- มีอาการสั่น โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่เฉยๆ และอาจเกิดอาการสั่นในรูปแบบอื่นได้เช่นกัน
- การเคลื่อนไหวช้า
- ขยับแขนขาไม่ได้
- มีปัญหาการเดินและการทรงตัว
อาการสั่น เกร็ง เกินจากความเสื่อมสมองส่วนกลาง ที่เรียกว่า ซับสแตนเชียไนกรา (Substantia Nigra) ซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลุ่มเซลล์ประสาทที่สามารถผลิตสาร(Dopamine) ซึ่งสารจัดเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท ทําให้เราสามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแขนขาได้รวดเร็วดังใจคิด แต่สมองส่วนดังกล่าวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเสื่อมลง ทําให้ระดับสารในสมองไม่เพียงพอต่อการนํากระแสประสาทไปยังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ จึงทําให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ลื่นไหลดังใจปรารถนา อาการภายนอกจึงเห็นเป็นลักษณะมีอาการสั่นเวลาเดิน มือสั่นเมื่อเขียนหนังสือตัวเล็ก ลายเส้นไม่เป็นระเบียบ พูดติดขัด เคลื่อนไหวช้า เดินเซ ทรงตัวไม่ดี สุดท้ายอาจเข้าสู่ระยะพิการนอนติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้