BMI คืออะไร น้ำหนักเท่าไหร่ถึงเรียกอ้วน? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการคำนวณ,เกณฑ์ที่เหมาะสม, ข้อจำกัด และวิธีลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย

BMI คืออะไร
ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง โดยคำนวณจาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / (ส่วนสูง (เมตร))^2
แต่อย่างไรก็ตามค่า BMI เป็นแค่การคำนวณเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากคุณจำเป็นต้องนำปัจจัยอื่นๆ มาประกอบด้วย ทั้งเรื่องของพันธุกรรม ปริมาณกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย และอื่นๆ
ตัวอย่าง:
- น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร (1.6 เมตร)
- BMI = 60 / (1.6)^2 = 23.44
เกณฑ์ BMI ที่เหมาะสม
- ต่ำกว่า 18.5 : ผอม
- 18.5 – 24.9 : น้ำหนักปกติ
- 25 – 29.9 : น้ำหนักเกิน
- 30 – 34.9 : อ้วน
- 35 ขึ้นไป : อ้วนมาก
ข้อจำกัดของ BMI
- ไม่ได้วัดองค์ประกอบของร่างกาย: BMI ไม่สามารถแยกแยะระหว่าง กล้ามเนื้อ และ ไขมัน บุคคลที่มีกล้ามเนื้อมาก อาจมีค่า BMI สูง แม้จะไม่มีไขมันสะสมมากก็ตาม
- ไม่เหมาะสำหรับบางกลุ่มบุคคล:
- นักกีฬา: มักมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วไป ส่งผลให้ค่า BMI สูง
- เด็ก: องค์ประกอบร่างกายเปลี่ยนแปลงตามวัย
- ผู้สูงอายุ: มวลกล้ามเนื้อลดลง ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น
- หญิงตั้งครรภ์: น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
แต่สำหรับบางคนที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ แต่มีไขมันสะสมเยอะ อยากลดเพิ่ม..สยามคลินิก มีตัวช่วยให้คุณ
- INDIBA BODY BURN : ช่วยการเผาผลาญ ลดไขมันสะสม กระชับสัดส่วน
- Cristal CoolScultping : เครื่องสลายไขมัน ด้วยความเย็น
- การดูดไขมัน (Liposuction) : เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะอ้วนแล้ว (BMI >25)
ประโยชน์ของ BMI
- คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น: ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคหัวใจ มะเร็ง
- วางแผนควบคุมน้ำหนัก: ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนควบคุมน้ำหนัก ติดตามผล
- ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง: ค่า BMI ที่สูง บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง
วิธีลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
- ควบคุมอาหาร เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับ 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน
การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย
- ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการ
- ลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรลดเกินสัปดาห์ละ 0.5 – 1 กิโลกรัม
- เลือกวิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสมกับตัวเอง และ สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง
สรุป
- ค่า BMI เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้น: ควรใช้วิธีอื่นร่วมด้วย เช่น วัดรอบเอว ดูสัดส่วนร่างกาย
- ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ประกอบ: พันธุกรรม กล้ามเนื้อ พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย ล้วนส่งผลต่อสุขภาพ
ตัวอย่าง
- บุคคลที่มีค่า BMI สูง อาจมีสุขภาพดี หากมีมวลกล้ามเนื้อมาก
- บุคคลที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจมีไขมันสะสมมาก หากมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม