ไข้และการอักเสบมักเป็นสัญญาณที่ร่างกายของคุณกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ แต่คุณรู้ไหมว่าในขณะที่กระบวนการเหล่านี้สามารถช่วยปกป้องร่างกายได้ มันก็อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณเสียหายได้เช่นกัน
ไข้ขึ้นเกิดจากอะไร
ไข้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเพื่อช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เป็นอันตราย เช่น แบคทีเรียและไวรัส การอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณที่มีการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อก็สามารถเพิ่มอุณหภูมิในเนื้อเยื่อใกล้เคียง ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น แต่เกิดอะไรขึ้นกันแน่ในระดับเซลล์ช่วงระหว่างที่อุณหภูมิสูงขึ้น
เซลล์ภูมิคุ้มกันกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น
เซลล์ T ในระบบภูมิคุ้มกันของเรา มีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกาย พวกมันตรวจจับและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ จัดการกับการอักเสบ และกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันอื่นๆ แต่เมื่อทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ทดสอบว่าเซลล์ T ตอบสนองอย่างไรต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น พวกเขาค้นพบสิ่งที่น่าสนใจ
ในระดับอุณหภูมิที่ถือว่ามีไข้ (ประมาณ 102°F หรือ 39°C) เซลล์ T จะทำงานหนักขึ้นและส่งสัญญาณการอักเสบมากขึ้น แม้ว่ากระวนการนี้จะน่าจะส่งผลดีต่อร่าง แต่มันก็หมายความว่าเซลล์ T บางตัว เช่น เซลล์ T helper 1 ต้องถูกทำลายไป ซึ่งเซลล์เหล่านี้ได้แสดงอาการเครียดและมีความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ ซึ่งอาจทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อของพวกมันลดลง
ไข้ เองก็เป็นดาบสองคม
ในขณะที่ความร้อนทำให้เซลล์ T ทำงานหนักขึ้น และก็ยังทำให้การทำงานของพวกมันถูกรบกวน อุณหภูมิที่สูงทำให้เซลล์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทำลายตัวเอง นั่นก็คือทำให้เกิดความเครียดขึ้นที่เซลล์และบางครั้งก็นำไปสู่การตายของเซลล์ และเมื่อหากนำเซลล์เหล่านี้ไม่ถูกทำลาย พวกมันจะสร้างไมโตคอนเดรีย (โรงงานพลังงานของเซลล์) มากขึ้นและส่งผลให้ทำงานหนักขึ้น
ผลกระทบต่อการอักเสบเรื้อรัง
การวิจัยที่สยามคลินิกอ้างอิงนี้นี้ไม่ได้ศึกษาเพียงแค่ไข้ที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น แต่ยังมีการศึกษาโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease) หรือโรคข้ออักเสบ (rheumatoid arthritis) ซึ่งเป็นการอักเสบตลอดเวลา เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจะมีปัญหาคล้ายกัน โดยกวิจัยพบว่าในโรคเหล่านี้ ส่งผลให้เซลล์ภูมิคุ้มกันแสดงอาการเครียดและความเสียหายของดีเอ็นเอ เหมือนกับตอนที่มีไข้ ซึ่งบ่งชี้ว่า การอักเสบเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ ในระยะยาว เช่น ความเสี่ยงต่อมะเร็ง
ส่วนที่น่าพิจารณาในงานวิจัยนี้
แม้ว่าไข้และการอักเสบจะเป็นส่วนหนึ่งของการกลไลการป้องกันตามธรรมชาติ แต่กระบวนการนี้ก็อาจทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานเกินขีดจำกัด จนทำไปสู่ความเสียหายได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาสมดุลนี้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถหาวิธีการจัดการกับโรคเรื้อรังได้ดีขึ้นและพัฒนาการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น