โรคต่อมไทรอยด์

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในระยะแรกอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่ต่อมาอาจแสดงอาการต่าง ๆ

สารบัญ

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์มีสาเหตุมาจากอะไร?

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์มาจากการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ได้หรือสร้างได้น้อย แต่อาจมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ ดังนี้

  • โรคฮาชิโมโตะ: หรือภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายผลิตแอนติบอดีออกมาเป็นจำนวนมาก แล้วมาทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงต่อมไทรอยด์ของเราเอง
  • การตอบสนองที่มากเกินไปในการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป: พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งมักจะได้รับการรักษาด้วยการกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสี หรือรับประทานยาต้านไทรอยด์
  • การผ่าตัดต่อมไทรอยด์: การผ่าตัดต่อมไทรอยด์อาจทำให้ขาดฮอร์โมนไทรอยด์
  • การใช้รังสีรักษา (Radiation therapy): ในผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะหรือลำคอ มีผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และทำให้ขาดฮอร์โมนไทรอยด์ได้
  • ยาบางชนิด เช่น Lithium: ซึ่งใช้รักษาโรคทางจิตเวช ส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์

กลุ่มเสี่ยงของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์มีใครบ้าง?

แม้ว่าทุกคนจะมีโอกาสการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แต่จะมีโอกาสมากขึ้นถ้าหาก

  • เป็นเพศหญิง
  • อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • มีประวัติได้รับรังสีรักษา หรือรับยาต้านไทรอยด์ หรือรับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • กำลังตั้งครรภ์ หรือภายใน 6 เดือนหลังคลอด

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่รีบไปพบแพทย์?

  • ต่อมไทรอยด์โต (Goiter)
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
  • ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า, วิตกกังวล
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนปลาย เช่น การควบคุมกล้ามเนื้อแขนขา เกิดอาการเหน็บชา หรือรู้สึกเหมือนมีของมีคมทิ่มแทง
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำอย่างรุนแรง (Myxedema) เป็นอาการที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรง โดยมีอาการคือ ไม่สามารถทนต่อความหนาวได้ ง่วงซึม อาจถึงขั้นหมดสติได้

การตรวจวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์

การวินิจฉัยภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ขึ้นอยู่กับอาการและผลการตรวจเลือด โดยการวัดระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) และอาจวัดระดับของฮอร์โมนไทรอกซิน(T4) ด้วย โดยผลตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดที่แสดงถึงภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ คือ การที่มีระดับฮอร์โมนไทรอกซินต่ำ และมีระดับ TSH สูง ซึ่งแสดงถึงการไม่ตอบสนองของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือดนี้จะใช้ยืนยันการวินิจฉัยแลระดับความรุนแรงของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ดังนั้นหากพบว่ามีอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ทำอย่างไรได้บ้าง?

การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์โดยทั่วไปเป็นการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน ที่นิยมใช้กันเป็นฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ ใช้ฮอร์โมนธรรมชาติ ซึ่งให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดี แต่จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินและตรวจเป็นระยะ ๆ เนื่องจากหากได้รับปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปได้

เมื่อไหร่ที่ควรจะพบแพทย์?

หากรู้สึกเพลีย เหนื่อย แบบไม่มีสาเหตุมาก่อน หรือมีอาการของภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ดังที่กล่าวข้างต้น เช่น ผิวแห้งมาก, ซีด, ใบหน้าบวมโต, ท้องผูก หรือมีเสียงแหบ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

กว่า 10 ปี แห่งความไว้วางใจ

ระยะเวลาสิบปีของการให้บริการด้านความงามและสุขภาพ เราได้รับการยอมรับสำหรับความมุ่งมั่นในคุณภาพการดูแลเป็นส่วนตัวและการรักษาแบบพรีเมียม การเดินทางตลอด 10 ปี ของเราสะท้อนถึงนวัตกรรมและความเป็นเลิศในทุกความพึงพอใจจากลูกค้า

มากกว่า 10 ปีแห่งความเชี่ยวชาญ ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการดูแลผิวพรรณและความงามชั้นนำในภูเก็ต คลินิกสยามมีคุณภาพที่ยาวนานถูกยกย่องผ่านรางวัลมากมาย
การดูแลแบบเป็นส่วนตัว แผนการรักษาที่ปรับเฉพาะตัว ให้ความสนใจแบบเฉพาะบุคคลกับทุกคน รับประกันความพึงพอใจและผลลัพธ์ที่ชัดเจน
การันตีด้วยรางวัล 8 ปีซ้อน
ได้รับเกียรติเป็นคลินิกพรีเมียมท็อป 100 ความมุ่งมั่นของเราในความเป็นเลิศได้รับการยอมรับจากรางวัลชั้นนำ รวมถึงรางวัลท็อป 1 ใน 100 คลินิกพิเศษจาก Galderma Thailand
ยา เเละเครื่องมือที่คุณภาพระดับพรีเมียม
เราใช้เฉพาะ Filler Restylane จากสวีเดน และ D y s p o r t จากอังกฤษ รับประกันว่าทุกการรักษาใช้เฉพาะผลิตภัณฑ์แท้คุณภาพดีที่สุด