วันเบาหวานโลกริเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 โดยสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (The International Diabetes Federation IDF) และองค์การอนามัยโลก เพื่อรณรงค์สร้างความตื่นรู้ถึงภัยของโรคเบาหวาน โดยเลือกวันที่ 14 พฤศจิกายน เนื่องจากเป็นวันเกิดของเฟรเดอริก แบนติง นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ซึ่งร่วมกับชาร์ลส์ เบสต์ เป็นผู้ที่เข้าใจแนวคิดแรกเริ่มที่นำไปสู่การค้นพบอินซูลินในปี พ.ศ. 2465 และได้รับรางวัลโนเบลในปี 1923 (พ.ศ. 2466)
ในส่วนของสถานการณ์โรคเบาหวาน จากการรายงานของสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติในปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) พบว่ามีประชากร 537 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 10.5 ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคนในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) และ 783 ล้านคนในปี ค.ศ. 2045 (พ.ศ. 2588) ตามลำดับ สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย จากการสำรวจความชุกของเบาหวานในประชากรที่อายุมากกว่า 15 ปี พบความชุกอยู่ที่ร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ. 2557 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.5 ในปี พ.ศ. 2563 ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นจากความสามารถในการจัดการน้ำตาลในกระแสเลือดโดยฮอร์โมนอินซูลินลดลง สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจมาจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งเรียกว่า “ภาวะขาดอินซูลิน” นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินที่ลดลง ซึ่งเรียกว่า “ภาวะดื้ออินซูลิน” สภาวะเหล่านี้ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญที่ผิดปกติในสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลกลูโคสได้ตามปกติ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ลักษณะ | เบาหวานชนิดที่ 1 | เบาหวานชนิดที่ 2 |
---|---|---|
สาเหตุ | เป็นภาวะภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน | เกิดจากการดื้ออินซูลินและการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ |
อายุที่พบบ่อย | มักเกิดในเด็กและวัยรุ่น | มักเกิดในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี |
การเริ่มมีอาการ | เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว | เกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาจไม่รู้ตัวจนกว่าจะตรวจสุขภาพ |
อาการทั่วไป | กระหายน้ำมาก, ปัสสาวะบ่อย, น้ำหนักลด, อ่อนเพลีย, มองเห็นไม่ชัด | กระหายน้ำมาก, ปัสสาวะบ่อย, น้ำหนักเพิ่มหรือลด, อ่อนเพลีย, มองเห็นไม่ชัด |
การวินิจฉัย | ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูง (มากกว่า 126 mg/dL) และ HbA1c (มากกว่า 6.5%) | ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสูง (มากกว่า 126 mg/dL) และ HbA1c (มากกว่า 6.5%) |
การตรวจปัสสาวะ | อาจพบคีโตนในปัสสาวะ | โดยปกติไม่มีคีโตนในปัสสาวะ |
การรักษา | ต้องใช้การบำบัดด้วยอินซูลินตลอดชีวิต | เริ่มจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต, ยาเม็ด, และอาจต้องใช้การบำบัดด้วยอินซูลินในบางกรณี |
การควบคุมอาหาร | ต้องควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ | ต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก |
ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน | มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะคีโตนและภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง | มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ, โรคไต, ปัญหาสายตา และความดันโลหิตสูง |
การตรวจสุขภาพ | ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด | ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อติดตามระดับน้ำตาลและภาวะแทรกซ้อน |
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนไทยเราบริโภคน้ำตาลเยอะมากในชีวิตประจำวัน ไม่เพียงแต่ในขนมและเครื่องดื่มที่หวานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงน้ำตาลในการปรุงอาหารคาวอีกด้วย
น้ำตาลมีส่วนในการทำลายโครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสตินที่อยู่ในชั้นผิว ซึ่งส่งผลให้เซลล์ผิวสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้ผิวไม่กระชับเต่งตึงดังเดิม ส่งผลให้ผิวเกิดริ้วรอยเร็วขึ้น เมืองไทยมีปัจจัยที่ทำลายโครงสร้างคอลลาเจนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เยอะมาก เช่น แสงแดด และ มลภาวะ ดังนั้นปัจจัยที่พวกเราพอจะควมคุมได้เช่น ปริมาณน้ำตาลในอาหาร Siam Clinic ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรควบคุมอย่างจริงจัง แม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีเทคโนโลยีที่ช่วยชะลอวัยและกระชับสัดส่วนมากมายก็ตาม แต่ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อความเสื่อมจากภายในก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจัดลำดับความสำคัญไว้สูงที่สุด
Leading in Face Lift, Anti-Aging & Liposuction, we excel in face contouring, lifting, and body reshaping through liposuction. Our primary goal is to ensure optimal outcomes for our patients.
Branch Big C. : Big C Supercenter 1st floor (opposit to KFC), Amphoe Muang Phuket, Phuket, Thailand 83000
BISP Branch : 189 Supicha Sino, Ko Kaeo, Muang, Phuket 83000
© Design by Digital Doctor 2024