Office Syndrome ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่กำลังแพร่หลายในหมู่คนทำงานออฟฟิศ ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นมานานแล้ว และเป็นอาการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตราบใดที่เรายังต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศทั้งวัน โดยไม่ขยับตัวไปไหนเลย ซึ่งหลายๆคนที่มีอาการของ Office Syndrome ก็มักจะไปหนวดผ่อนคลาย เพื่อลดอาการ ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุ หรือบางคนมีอาการมากๆ ก็ต้องรับประทานยาแก้ปวด จนบางทีกลายเป็นติดยาแก้ปวดไปอีก และอาจนำมาซึ่งโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาจากการรับประทานยามากเกินไป

ปัจจุบัน Office Syndrome เริ่มเป็นอาการที่ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นไปอีก เพราะการที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน (Work from Home) ทำให้ช่วงเวลาของการนั่งติดอยู่กับที่นานๆ เริ่มขยายเวลามากขึ้น จากที่เคยแค่นั่งหน้าคอมพ์เพื่อพิมพ์งาน กลายเป็นต้องนั่งหน้าจอเพื่อประชุมออนไลน์กันทีหนึ่ง 4-5 ชั่วโมง บางทีไม่ได้ลุกไปไหนเลย ทำให้ ออฟฟิศซินโดรมกลับมาเป็นอาการยอดฮิตอีกครั้ง และทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและใช้ชีวิต เมื่อเป็นอาการยอดฮิต ที่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานานมักจะเคยเป็น เราลองมาทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม สักหน่อยดีกว่า

Office Syndrome ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

Office Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม หรือต้องอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้กล้ามเนื้อตึงตัวเพิ่มขึ้น จนส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ

หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ละเลยอาการปวด สุดท้ายแล้วอาการจะหนักขึ้นจนพัฒนาเป็นการปวดเรื้อรังได้ โดยกิจกรรมในปัจจุบันที่พบบ่อยคือ การใช้คอมพิวเตอร์ที่ระดับคีย์บอร์ดสูงเกินไป หรือก้มศีรษะเล่นมือถือนานๆ ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่าและไหล่ได้ หากเกิดการสะสมนานๆจะเกิดอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นอาการไมเกรน แต่แท้จริงแล้วเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่สะสมมานาน การใช้มือกดคีย์บอร์ด คลิกเมาส์ เมื่อกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ เกิดภาวะพังผืดหนาตัวไปทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ หรือนิ้วล็อก ขยับนิ้วมือได้ลำบากเป็นต้นค่ะ

สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ท่านั่งผิดหลักสรีรศาสตร์ (ergonomics)
  • การนั่งทำงานที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงติดต่อกัน
  • การใช้กล้ามเนื้อส่วนเดียวซ้ำๆ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง เช่น การใช้เมาส์ หรือจอยสติ๊ก โต๊ะ คอมพิวเตอร์ หรือเก้าอี้ทำงานอยู่ต่ำหรือสูงเกินไป

หลายคนอาจไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงแรกๆ แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข โรคออฟฟิศซินโดรมอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลให้มีอาการปวดและอักเสบเรื้อรัง ซึ่งนำมาสู่ความเครียดและภาวะอื่นๆทางร่างกายได้

อาการในกลุ่มออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome มีอะไรบ้าง?

1. อาการปวดกล้ามเนื้อและ/หรือเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)

เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยอันดับต้นๆสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม โดยจะมีจุดกดเจ็บ (trigger points) ภายในกล้ามเนื้อแต่ละมัดซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งหรือหดตัวซ้ำๆสะสมเป็นเวลานาน เมื่อกดหรือคลําที่จุดจะพบเป็นก้อนพังผืดแข็งอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ และอาจทำให้รู้สึกปวดร้าวเฉพาะจุดหรืออาจปวดร้าวไปที่จุดอื่นของร่างกาย มักพบบ่อยในบริเวณคอ บ่า สะบัก

2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal Tunnel Syndrome)

อาการนี้เกิดขึ้นจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดความรู้สึกเสียวซ่า ชา และปวดในมือ ข้อมือ และนิ้วมือ หากอาการรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้แรงในการบีบมือลดน้อยลง เนื่องจากกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว อาการปวดจะเพิ่มขึ้นและเกิดตะคริวบ่อยครั้ง และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจทำให้สูญเสียความรู้สึกที่นิ้วได้เช่นกัน

3. นิ้วล็อก (Trigger Finger)

อาการนิ้วล็อกเป็นภาวะที่นิ้วข้างใดข้างหนึ่งติดอยู่ในท่างอ ทำให้เกิดอาการปวดตึง และนิ้วมีอาการสะดุดและอาจล็อคเมื่องอหรือเหยียดนิ้ว ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้งอนิ้วไม่ได้ หรือต้องช่วยง้างนิ้วออกเมื่อเกิดการล็อก

4. เอ็นอักเสบ (Tendinitis)

เป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำๆ การใช้งานเส้นเอ็นมากเกินไป เช่น ในระหว่างการเล่นกีฬา โดยมักเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อศอก ข้อมือ หัวไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย

การรักษาอาการ Office Syndrome

  • รับประทานยาแก้ปวดตึงกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน และถ้ารับประทานมากๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย
  • นวดผ่อนคลาย ซึ่งก็เป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุอีกเช่นกัน
  • การใช้วิธีกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และรักษา
  • การใช้เลเซอร์ช่วยบำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ ที่สามารถช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ด้วยการใช้เครื่อง Indiba ที่ใช้นวัตกรรม Proionic  ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อในระดับเซลล์

สถานที่ตั้ง Siam Clinic ทั้ง 2 สาขา

สยามคลินิกสาขา เกาะแก้ว ใกล้ BISP

หาที่จอดรถได้ง่าย สามารถจอดที่หน้าคลินิกได้เลย

คลิกเพื่อแอดไลน์

สถานที่ตั้ง Siam Clinic สาขา Big C ภูเก็ต

จอดรถได้สะดวก ไม่เสียค่าจอดรถ และเป็นที่จอดในร่ม

คลิกเพื่อแอดไลน์